สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัด “การแข่งขันและมอบรางวัลหนูน้อยจ้าวเวหา Young Pilot Thai PBS เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถแก่เด็กและเยาวชน ให้มีพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ
โดยได้ทำการอบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนทั่วประเทศและศึกษาพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รอบคัดเลือก สนามที่ 1 โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฯ
และมอบรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รอบคัดเลือก สนามที่ 1
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการบินด้วยนวัตกรรม “โดรน” โดย นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ และ นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ โดยในปีนี้ได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดโปรแกรมการแข่งขันหลากหลายประเภท
พร้อมการตัดสินและมอบรางวัลผู้ชนะเลิศ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ภายในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Inventors’ Day 2023) ซึ่งงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-17.00 น. ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ในการพัฒนานวัตกรรมโดรนแปรอักษร (Drone Swarm Software) ที่พัฒนาขึ้นโดยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เป็นโดรนสัญชาติไทย ผลิตโดยคนไทยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย และเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเชียงใต้
สามารถควบคุมโดรนให้บินขึ้นพร้อมกันครั้งละหลาย ๆ ลำ และจัดเรียงตำแหน่งตามที่กำหนดโดยการสั่งงานจากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ซึ่งมีทีมเยาวชนนักประดิษฐ์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า การสร้างและการพัฒนาซอฟต์แวร์
ที่มีประสิทธิภาพการทำงานทัดเทียมกับของต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้นำไปจัดแสดงในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติฯ และตอบสนองแนวโน้มการนำโดรนแปรอักษรมาใช้แสดงแทนการจุดพลุไฟมากขึ้น ทั้งนี้ รู้สึกประทับใจที่เยาวชนทีมวิจัยจะได้นำสิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย มาช่วยสร้างคน สร้างอาชีพ สำหรับการจัดแสดงโดรนแปรอักษร ในงานวันนักประดิษฐ์ปีนี้ เป็นการจัดแสดงแบบ Indoor ใน 4 ชุดการแสดง มีการออกแบบเป็นรูปภาพต่าง ๆ ได้แก่ พายุ ไวกิ้ง คลื่น ดอกไม้ ลูกโลก เป็นต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดพัฒนาด้านการศึกษาให้เกิดการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เป็นการสร้างนวัตกรในประเทศ ให้มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์
ในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี ด้านการบินในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
และผลการแข่งขัน หนูน้อยจ้าวเวหา Young ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รอบคัดเลือก สานามที่ 1 ได้แก่ รองชนะเลิศอันดับ 3 ทีมลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 2 จากอุบลราชธานี รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 3 จากอุบลราชธานี รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมตะโกราย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ รางวัลชนะเลิศ ทีมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล
No comments:
Post a Comment