เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 23 เม.ย.2567 ณ ห้องประชุมโรงแรมอัลมีรอซ รามคำแหง กรุงเทพมหานคร ผ.ศ.ดร.วรวิทย์ บารู ประธานกรรมการเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย นายธีระ ยีโกบ ผู้ช่วยกรรมการธนาคารผู้จัดการอิสลามแห่งประเทศไทย นายรุ่งโรจน์ ซาลลี ประธานการจัดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2024 (TIFF 2024) ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานสัมมนาการเงินอิสลามประเทศไทย Thailand Islamic Finance Forum 2024 (TIFF 2024) ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงแรมอัลมีรอซ รามคำแหง กรุงเทพมหานคร
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 250 คน จากผู้บริหารสหกรณ์อิสลามจากทั่วประเทศ ผู้บริหารธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยผู้บริหารกลุ่มบริษัทประกันตะกาฟุล ผู้บริหารและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ผู้บริหารองค์กรด้านการเงินอิสลามในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มนักธุรกิจ ส่วนราชการ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน และสหกรณ์อิสลาม การร่วมกำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงานตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเงิน และสหกรณ์อิสลามทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการเติบโตและการขยายตัวอย่างมั่นคง สร้างความมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
พบกับการ ปาฐกถา ทิศทางการเงินฮาลาล กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน มองผ่านธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดย ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
การปาฐกถา การส่งเสริมและพัฒนาการเงินฮาลาลในประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล โดย อาจารย์อรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี
การปาฐกถา สหกรณ์อิสลาม สถาบันการเงินฐานคุณธรรม กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดย ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ประธานกรรมการ เครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย
การปาฐกถาพิเศษ ทิศทางและโอกาสการเงินฮาลาล สู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก โดย ฯพณฯ กฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
การปาฐกถา การพัฒนาสหกรณ์เติบโตอย่างมั่นคง สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ”โดย ฯพณฯ ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการบรรยายพิเศษ รอบบ่าย โดยวิทยากรระดับประเทศ หัวข้อ การเงินฮาลาล กับการพัฒนาประชากรโลก สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ”โดย Datuk Dr. Mohammad Daud Bakar The Founder And Executive Chairman Of Amanie Group ความมั่นคงอย่างยั่งยืนของสถาบันการเงินและสหกรณ์อิสลาม
มองผ่านกฎหมายในประเทศไทย โดย อาจารย์ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานสันนิบาตรสหกรณ์แห่งประเทศไทย การปาฐกถา การเงินฮาลาลเปลี่ยนผ่าน สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ” โดย ดร.ชัชวาล นิยมวิทยานนท์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายชารีอะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อับดุลรอชีด เจะมะ รองประธานกรรมการเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย,อาจารย์อิสเรศ มะหะหมัด รองกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าฝ่าย Daol-Islamic บริษัทหลักทรัพย์ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน
บรรยายพิเศษเรื่องนวัตกรรมทางการเงินอิสลาม รากฐานสู่ความยั่งยืน โดยศาสตราจารย์ ดร.ซาการียา หะมะ ศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.สมีธ อีซอ ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม มหาวิทยาลัยเกริก รองศาสตราจารย์ ดร.มนชยา อุรุยศ ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายโลกมุสลิม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปิดท้ายด้วยการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ การเงินฮาลาล การเงินฐานคุณธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนไทย โดย ฯพณฯ วันมูหะหมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
และอีกส่วนหนึ่งของงานนี้ จะมีกิจกรรมที่ต่อเนื่องกัน ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 กิจกรรม TICON GAME 2024 วันสหกรณ์อิสลามสัมพันธ์ ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน และวันที่ 5 พฤษภาคม 2567 กิจกรรม TICON RUN ให้มันส์RUN 2024 รักใครให้ชวนวิ่ง งานวิ่งเพื่อการกุศล ณ ศูนย์กีฬาบึงหนองบอน
ผ.ศ.ดร.วรวิทย์ บารู ประธานกรรมการเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันที่ 3-4-5 พ.ค.นี้ เป็นครั้งแรกกับปรากฏการณ์ ที่รวมด้านการเงินอิสลาม สหกรณ์ ธนาคาร การลงทุน ตะกาฟุล การศึกษา และงานวิจัย ร่วมกำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเงินการลงทุน และสหกรณ์อิสลามทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการเติบโตและการขยายตัวอย่างมั่นคง เครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทยจำกัด ร่วมกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายด้านการเงินอิสลาม เป็นการร่วมกันของเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อให้ได้รู้ความก้าวหน้าของระบบการเงินของอิสลามรวมถึงนวัตกรรมทางการเงินอิสลามซึ่งเป็นระบบคุณธรรมที่ไม่มีดอกเบี้ย
ระบบการเงินอิสลาม ต้องอยู่บนพื้นฐานกฎหมายอิสลาม หรือหลักชะรีอะฮ์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจหรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามหลักชะรีอะฮ์ ที่เกี่ยวกับการให้ทำได้ (หะลาล) และการห้าม (หะรอม) ซึ่งข้อห้ามหลักในการทำธุรกรรมสำหรับการเงินอิสลาม คือ ห้ามริบา (Riba) หรือดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบ และซ้ำเติมลูกหนี้ ระบบการเงินอิสลามจึงใช้ระบบแบ่งปันผลกำไรขาดทุน (profit and loss sharing) แทนระบบดอกเบี้ย หมายถึงทั้งฝ่ายธนาคาร ผู้ฝากเงิน ทุกฝ่ายมีความเสี่ยงร่วมกัน
แนวคิดของระบบการเงินอิสลาม เป็นเรื่องของคนที่มีกำลังมากกว่าสนับสนุนคนที่มีกำลังน้อยกว่า ไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ย เรื่องหลักคือการทำให้คนแข็งแรง ความแข็งแรงของคน ของชุมชน เป็นส่วนสำคัญในการพยุงและยกระดับสังคม เป็นระบบการเงินที่อยู่บนพื้นฐานของของความยุติธรรมและเป็นธรรม (justice & fairness) ซึ่งก็คือหลัก ESG นั่นเอง
No comments:
Post a Comment