Showing posts with label #​วช. Show all posts
Showing posts with label #​วช. Show all posts

Friday, September 2, 2022

วช. จับมือ สสส. ผนึกพลัง 10 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน MOU บูรณาการเชิงรุกหนุนเสริมข้อมูลวิชาการ สร้างองค์ความรู้ ขับเคลื่อนแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม นำสู่สังคมสิ่งแวดล้อมสุขภาวะ

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ 
วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส.​ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “บูรณาการดำเนินงานด้านมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาวะ” ที่ครอบคลุม 4 ประเด็นสำคัญ มลพิษทางอากาศ มลพิษจากขยะ มลพิษอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งระหว่าง 10 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กรมควบคุมมลพิษ, กรมอนามัย, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร และ สสส. ณ โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพฯ
นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการ วช. กล่าวว่า วช. ดำเนินงานบริหารารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นด้านแก้ปัญหามลพิษในหลายประเด็น เช่น การลดขยะเป็นศูนย์(Zero Waste) PM2.5 โดย วช. มีความร่วมมือกับ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ในภารกิจแก้ไขปัญหา PM2.5 ของประเทศตั้งแต่ปี 2563  โดย คพ. ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยในประเทศไทย 
จัดทำโครงการวิจัยต่าง ๆ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจาก วช. เพื่อนำข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ซึ่ง คพ.ได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการตัดสิน และชี้แจงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน และปัจจุบันได้ขยายขอบเขตบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการให้ครอบคลุมปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และขยะ ความร่วมมือกับ สสส. พร้อม 9 หน่วยงานในครั้งนี้ ถือเป็นอีกขั้นหนึ่งในการดำเนินงานกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งการสนับสนุนข้อมูลวิชาการ การสร้างเสริมองค์ความรู้ การป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทาง สุขภาพ และเป็นการสร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี โดย วช. พร้อมขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันกับทุกฝ่าย เพื่อสร้างสรรค์งานหรือกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างยั่งยืนต่อไป
นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า “การลงนาม MOU ในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำจุดยืนว่า สสส. และ 9 หน่วยงาน จะส่งเสริมสุขภาวะทุกคนบนแผ่นดินไทย ให้มีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีในทุกมิติ ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่าน 3 วัตถุประสงค์หลัก 1. หาแนวทางควบคุมและ
ลดความเสี่ยงจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม 2. สนับสนุนการสร้างพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ปลอดภัยตอบสนอง
ต่อสภาพปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม 3. สร้างระบบสังคม วัฒนธรรม จิตสำนึกที่เอื้อต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะนำไปสู่ความร่วมมือในเรื่องของการสนับสนุนข้อมูลวิชาการ การสร้างเสริมองค์ความรู้ การป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทาง สุขภาพ และการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม “นำสู่สังคมสิ่งแวดล้อมสุขภาวะ” ได้อย่างแท้จริง

Wednesday, August 31, 2022

วช. หนุนงานวิจัยต้นแบบการจัดร้านอาหารชีวิตวิถีใหม่ New Normal ตามมาตรฐานสุขอนามัย

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนตื่นตัวในด้านสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม Social Distance ในชีวิตวิถีใหม่ยุค New Normal จึงมีการปรับพฤติกรรมในการเข้าไปใช้บริการในร้านอาหาร ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข สอดคล้องกับงานวิจัยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในการศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวของผู้เข้ารับบริการร้านอาหารสำหรับออกแบบและพัฒนาต้นแบบร้านอาหารวิถีใหม่ในสังคมเปลี่ยนแปลง New Normal เพื่อสร้างมาตรฐานของการเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับผู้ใช้บริการร้านอาหาร โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช. ) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
   ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ   กล่าวว่า วช. เป็นองค์กรสำคัญของรัฐ ในการสนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ สามารถใช้เป็นองค์ความรู้นำไปปรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์
 เสริมศักยภาพด้านการผลิตในภาคส่วนต่างๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19  ทาง วช. ได้ให้การสนับสนุนผลงานวิจัยในหลายด้าน รวมไปถึงการจัดระเบียบพฤติกรรมของผู้บริโภคในร้านอาหาร หลังมีมาตรการผ่านคลายให้สามารถนั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ แต่ยังต้องยึดตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข โดยผลงานการดีไซน์ออกแบบร้านอาหารต้นแบบ เพื่อให้เป็นไปตามสุขอนามัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
   นายศรัณยู  สว่างเมฆ อาจารย์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดเผยว่า ทางทีมวิจัยได้ร่วมกัน ออกแบบการจัดรูปแบบของร้านอาหารในยุค New Normal เพื่อลดความแออัดและเว้นระยะห่าง เริ่มตั้งแต่การออกแบบพื้นที่การใช้สอย ( Zoning ) 
ภายในร้าน การจัดโต๊ะอาหาร  การคัดกรองก่อนเข้าร้าน การสัญจรภายในร้าน จุดวางช้อน จาน  อุปกรณ์เสริม อาทิ ฉากกั้นโต๊ะจัดวางอาหาร ระบบการถ่ายเทอากาศภายในร้านทั้งระบบปิดและระบบเปิด ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขโดยนำวิทยาการเรื่องการออกแบบมาประยุกต์ใช้ตามลักษณะทาง
กายภาพของแต่ละร้าน ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าเป็นการยกระดับมาตรฐานการใช้บริการร้านอาหาร ให้สูงกว่าอดีตที่ผ่านมา ก่อนที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 รวมถึงสามารถสร้างความอุ่นใจให้ผู้บริโภค ซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้สามารถนำมาปรับใช้สำหรับเจ้าของกิจการร้านอาหาร โดยสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช. )