Showing posts with label #อูบุนนาค. Show all posts
Showing posts with label #อูบุนนาค. Show all posts

Friday, June 2, 2023

วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตักบาตรพระสงฆ์ เวียนเทียนและถวายผ้าห่มพระบรมบรรพต งานวันวิสาขบูชา ณ วัดสระเกศ



วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 07.00 น. พระธรรมโพธิมงคล เจ้าอาวาสวัดสระเกศ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.)
 เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 19 รูป พิธีเวียนเทียนและถวายผ้าห่มพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) ในงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2566 

โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ วัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2566 ขึ้น ระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน 2566 ณ วัดสระเกศ สำหรับกิจกรรมประกอบด้วย พิธีเจริญพระพุทธมนต์

 ตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 19 รูป พิธีเวียนเทียน และถวายผ้าห่มองค์พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ การสาธิตและสืบสานประเพณีการกวนข้าวทิพย์ 

การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยจากเครือข่ายศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การสาธิตและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของดีชุมชนคุณธรรมและชุมชนโดยรอบวัดสระเกศ จำนวน 30 แห่ง กิจกรรม “ธรรม Talk Walk Rally” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 มงคลภายในวัดฯ ประกอบด้วย พระบรมสารีริกธาตุ (พระบรมบรรพต)

 พระพุทธมงคลชินสีห์วชิรมุนี (พระอุโบสถ) พระอัฐารส (พระวิหาร) พระพุทธรูปแห่งบามิยัน (พิพิธภัณฑ์บามิยัน) พระพุทธมงคลบรมบรรพต (หลวงพ่อดวงดี) พระพุทธมงคลสุวรรณบรรพต (หลวงพ่อโชคดี) หลวงพ่อโต ท้าวเวสสุวรรณ และหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัดที่พุทธศาสนิกชนนิยมกราบไหว้สักการะและขอพร

 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับใบโพธิ์มหามงคลจากสถานที่ตรัสรู้ คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมตอบปัญหาธรรมะออนไลน์ ผ่านทาง Facebook กรมการศาสนา ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมมาตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม และจะดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2566 

โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับใบโพธิ์มหามงคลเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีพิธี ปลูกต้นไม้เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันวิสาขบูชาของทุกปี เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ บริเวณสัตตมหาสถาน วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดยปลูกต้นซึกหรือมะรุมป่า จำนวน 3 ต้น 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม กระทรวงวัฒนธรรม และกรมการศาสนา มุ่งหวังว่ากิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เนื่องในวันวิสาขบูชาในปีนี้ จะนำไปสู่ การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ด้วยการสวดมนต์ รักษาศีล และเจริญจิตภาวนา ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

Thursday, May 11, 2023

วช. และเครือข่ายนักวิจัย ร่วมเสวนา “ขับเคลื่อนแรงงานสูงวัย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม”


วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ขับเคลื่อนแรงงานสูงวัย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนาออนไลน์ ในรูปแบบ Video Conference ผ่านโปรแกรม Zoom และ Facebook live ซึ่งการเสวนาครั้งนี้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรม 

เพื่อสร้างการรับรู้และผลักดันองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นแรงงานผู้สูงอายุไปสู่การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม โดยผู้ร่วมเสวนาเป็นวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในด้านแรงงานผู้สูงอายุ ประกอบด้วย นพ.ภูษิต ประคองสาย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ให้เกียรติเป็นผู้ดำเนินการเสวนา พร้อมด้วย คุณอาภา รัตนพิทักษ์ จากกรมกิจการผู้สูงอายุ ผศ. ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ. ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณสุมิตรา วงภักดี บริษัท เทอร่า มีเดีย แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาผ่านระบบออนไลน์ทั้ง 2 ช่องทาง จำนวน 281 ราย

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วช. ในฐานะหน่วยงานหลักในการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการเตรียมรับสังคมสูงวัย ได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักและการเตรียมความพร้อมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้จัดเสวนา “ขับเคลื่อนแรงงานสูงวัย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ในรูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Facebook live เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงิน การลงทุน และสนับสนุนการทำงานหรือการมีงานทำของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างรายได้รวมถึงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย

รศ. ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีงานทำมีแนวโน้มลดลง และผู้สูงอายุที่หยุดทำงานมากที่สุด ก็คือผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วง 60 – 64 ปี ซึ่งนับเป็น 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุทั้งหมดหรือกว่า 22.5% และคาดว่าเกิดจากผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ทำงานในระบบ ซึ่งมีระยะเวลาเกษียณที่อายุประมาณ 60 ปี อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการมีงานทำหรือการทำงานของผู้สูงอายุควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และประเด็นสำคัญที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ แรงจูงใจในการทำงานของผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่ม ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ โอกาสในการทำงาน การสนับสนุนจากชุมชน และการคุ้มครองในการทำงาน ดังนั้นการเตรียมพร้อมและสนับสนุนการมีงานทำ จึงควรเน้นไปที่กลุ่มประชากรหรือแรงงานอายุ 45 ปี ขึ้นไป และเพิ่มสัดส่วนของผู้สูงอายุช่วง 60-64 ปี ให้มีงานทำ และมีการส่งเสริมการจ้างงาน การคุ้มครองการทำงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสนับสนุนการปรับมโนทัศน์ต่อการทำงานกับผู้สูงอายุ ปัจจัยบุคคล ครอบครัว และสังคม โดยพิจารณาในกรอบมิติ 3 มิติ คือ มิติความมั่นคงทางรายได้ มิติครอบครัว และมิติชุมชน

คุณสุมิตรา วงภักดี บริษัท เทอร่า มีเดีย แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า โครงการพัฒนาดิจิตอลแพลตฟอร์มเป็นการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานอิสระและนอกระบบ เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมความรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งจากการดำเนินการพบว่าผู้สูงวัยที่ยังทำงาน มีความภาคภูมิใจจากการสร้างรายได้ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ไม่เป็นภาระ และยังสามารถช่วยเหลือสังคม อีกทั้งสามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ผู้อื่นได้ และช่วยให้ผู้สูงวัยมีร่างกายที่แข็งแรง มีการฝึกฝนพัฒนาสมอง แต่อย่างไรก็ตามงานที่ตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ จะต้องไม่ใช่งานหนักเกินไป ไม่ต้องทำเป็นประจำ จำนวนชั่วโมงในการทำน้อย เน้นงานที่ทำแล้วมีความสุข สามารถพบปะผู้คน ทั้งนี้ ควรมีการขยายช่วงอายุการชราภาพ ปรับค่าจ้างรายชั่วโมงให้สูงขึ้น และเพิ่มสวัสดิการ การคุ้มครองผู้สูงวัยให้ต่อเนื่อง และส่งเสริมความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนในการจ้างผู้สูงวัยเข้าทำงาน

คุณอาภา รัตนพิทักษ์ กรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า ภาครัฐได้จัดทำ “แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ซึ่งในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการส่งเสริมผู้สูงอายุในทุกมิติในด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีเตรียมความพร้อมในเรื่องการให้บริการและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ โดยในปี พ.ศ.2566 ได้ปรับเป็น “แผนปฏิบัติการผู้สูงอายุ ฉบับที่ 3” เพื่อให้มีแนวทางที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในปัจจุบัน รวมทั้งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ที่กล่าวถึงสิทธิในการทำงานและส่งเสริมการทำงาน โดยมีการกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน ส่งเสริมการสร้างงานร่วมกับภาคเอกชน ขับเคลื่อนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ลดภาษีนิติบุคคลให้แก่สถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้สูงอายุ ส่งเสริมการทำงานในรูปแบบรายชั่วโมง ส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อรองรับบุคคลหลังเกษียณ การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้สูงอายุ และการสนับสนุนเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความพร้อมและอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่ที่ดีมีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผศ. ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สามารถแบ่งสถานภาพการทำงานผู้สูงอายุ เป็น  3 ส่วน คือ คนที่เป็นข้าราชการ คนที่เป็นคนเกษียณในระบบประกันสังคม และคนที่เป็นแรงงานนอกระบบ โดยกลุ่มที่ควรให้ความสนใจ คือ กลุ่มคนที่เป็นแรงงานนอกระบบ รองลงมากลุ่มที่มีประกันสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่เยอะ จึงมีความสนใจเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งรูปแบบการทำงานของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การจ้างงานกลับเข้ามาใหม่และมีการเกษียณอายุการทำงานตามปกติ (Re-employment) 2) การขยายอายุการเกษียณ การใช้รูปแบบการจ้างงานในรูปแบบที่ยืดหยุ่น 3) การทำงานของแรงงานนอกระบบ การจ้างเหมาบริการ โดยจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยที่ยังเป็นความท้าทายให้กับสังคมไทยและการสร้างนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ควรมองในประเด็น 1) ผลิตภาพของแรงงาน ค่าตอบแทนและต้นทุนของสถานประกอบการในการจ้างงานแรงงานผู้สูงอายุ 2) การแก้กฎหมายของกองทุนประกันสังคม 3) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน การจ่ายค่าชดเชย 3) การสร้างแรงจูงใจโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของภาครัฐที่ให้กับผู้ประกอบการ 4) ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ 5) ทัศนคติทางสังคม และ Diversity Management

นพ.ภูษิต ประคองสาย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้รับประโยชน์ทั้งในส่วนของข้อมูลและแนวทางในการสร้างโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายและภาคปฏิบัติ ตามแนวทาง “Getting Research into Policy and Practice” หรือ GRiPP

ทั้งนี้ การจัดเสวนา “ขับเคลื่อนแรงงานสูงวัย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” วช. พร้อมที่จะสนับสนุนไปสู่การผลักดันให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของผู้สูงอายุ และนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงวัยด้วยวิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนทุกช่วงวัยได้อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจและรับมือกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

Wednesday, May 10, 2023

วช. - ม.นเรศวร ส่งมอบเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก แก่กองทัพภาคที่ 3 ให้กำลังพลใช้ป้องกันภัยในพื้นที่เสี่ยง

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 และ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก ซึ่งเป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย”

 ที่ วช. ให้ทุนสนับสนุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินโครงการฯ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  

 เป็นผู้ส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าว แก่กองทัพภาคที่ 3 โดยมี พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นผู้รับมอบ พร้อมนี้ ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ให้การต้อนรับ ณ สโมสรบันเทิงทัพ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก

พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า ในนามของกองทัพภาคที่ 3 ต้องขอขอบคุณทาง วช. และ ม.นเรศวร ที่เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน ซึ่งถือว่าเป็นคุณประโยชน์ให้กับกำลังพลของกองทัพบกเป็นอย่างดีในการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในพื้นที่เสี่ยงภัย ช่วยให้เกิดความปลอดภัย โดยผลผลิตดังกล่าวจะเป็นต้นแบบในการลดขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่จะนำไปสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืน นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนนี้จัดทำขึ้นตามความต้องการของ@&#&aàdเป้าหมายที่มีความต้องการเสื้อเกราะที่มีน้ำหนักเบา มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยได้ และมีราคาถูก สามารถเข้าถึงได้ง่าย และในอนาคตหวังว่าคณะนักวิจัยจะได้พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนี้ให้ตอบสนองต่อความต้องการและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล


นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นองค์กรหลักด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญด้านการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ที่มีความท้าทายและมีเป้าหมายชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม งานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนเป็นผลสำเร็จของการสนับสนุนนักวิจัยที่ได้รับทุนจาก วช. จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก 

 จากกระบวนการมีส่วนร่วมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับทหารของประเทศและจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชนจากการนำเอาขยะจากท้องทะเลมารวมกับผ้าทอมือ อันเป็นสิ่งแทนใจของความรักและความผูกพันของคนในครอบครัวและชุมชนเป็นเกราะป้องกันทหารของประเทศ ผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้ต่อไป 

ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร มีนโยบายในการผลักดัน ส่งเสริม ให้เกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Research Eco system ที่จะพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มุ่งส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างยั่งยืน สร้างงานวิจัยชั้นแนวหน้าที่มีความหลากหลายตามศักยภาพของนักวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประเทศ เพื่อมุ่งสู่การเป็น "มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ"  ซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งผู้ทำวิจัย ผู้สนับสนุนทุนวิจัย และผู้ที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคมได้อย่างชัดเจน 

รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า ม.นเรศวร ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. ในการดำเนินโครงการ “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” มีความสอดคล้องกับแนวทางที่สหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ให้ประเทศต่าง ๆ ภายใต้ทิศทางการพัฒนาประเทศ พ.ศ. 2558 –2573 ในเป้าหมายที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การสร้างสรรค์นวัตกรรมจากขยะพลาสติกยังตอบสนองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพอีกด้วย โดยคณะนักวิจัยมีแนวคิดในการนำเอาขยะเหลือใช้กลับมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน จากการกำจัดขยะมูลฝอยในปี 2562 พบว่าจังหวัดพิษณุโลก ติดอันดับ 1 ใน 6 จังหวัดที่มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่มากที่สุด โดยจำนวนขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในจังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณ 465.7 ตันต่อวัน โดยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนถือเป็นผลสำเร็จของโครงการฯ จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก จากกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับกองทัพ โดยมีทหารเป็นกำลังสำคัญในการรักษาอธิปไตยของชาติ
สำหรับนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก เป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. สนับสนุนทุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ ดำเนินโครงการฯ ซึ่ง วช. กองทัพภาคที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะนักวิจัย มีความมุ่งมั่นในการผลักดันการดำเนินงานวิจัยนี้ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ซึ่งผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ การจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้

ทั้งนี้ คณะนักวิจัยได้ทำการทดสอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก โดยการใช้ปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ณ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จังหวัดพิษณุโลก จากการทดสอบพบว่านวัตกรรมดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการยิงจากอาวุธปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ในระยะการยิงที่ 5 เมตร 7 เมตร 10 เมตร และ 15 เมตร ได้เป็นอย่างดี และในอนาคตคณะนักวิจัยจะทำการพัฒนานวัตกรรมฯ ให้สามารถป้องกันอาวุธปืนที่มีประสิทธิภาพสูง อาทิ ปืนเอ็ม 16 หรือปืนอาก้า เพื่อความปลอดภัยของทหารผู้รักษาอธิปไตยของประเทศต่อไป

รองอธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พร้อมคณะร่วมนิทรรศการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนนาถ มีนะนันทน์ รองอธิการบดี อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา 
 ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาทั้งนี้นักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้ขับร้องเพลงแสงหนึ่ง และแสดงดนตรีเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติระหว่างเดินชมนิทรรศการ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ

               สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
และการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ร้อยเรื่องราว หนึ่งฤทัย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา” ณ ห้องสังคีตวัฒนา สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ในการนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูวิทย์ ยุระยง อธิการบดี และบุคลากรได้เข้าร่วมพิธีและงานดังกล่าว

Friday, April 28, 2023

ระเบิดศึกอีสปอร์ต'ซาอุดิ-ไทย'2ทีมชาติดวล'โดต้า-สตรีตไฟต์เตอร์'ที่พัทยา

นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา พร้อมด้วย​ นายสันติ​ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย​ และ​ เจ้า​ชาย​ ไฟซัล บินบานดา บินสุลต่าน อัลชะอูด นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศซาอุดิอาระเบีย ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตกระชับมิตร​ ไทย-ซาอุดิอาระเบีย "ซาอุดิ-ไทย​ อีสปอร์ต​ อินวิเตชั่น เฟรนด์ลี่ แมตช์" ที่ศูนย์การค้า​เซ็นทรัล​ พัทยา จังหวัดชลบุรี​ เมื่อวันที่​ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา
นายสันติ​ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย​ กล่าวว่า น่ายินอย่างยิ่งที่กีฬาอีสปอร์ตแสดงให้ทุกคนเห็นแล้วว่าทุกวันนี้ไม่ได้เป็นแค่เกมอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นทั้งการแข่งขันกีฬาและสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้มากเพียงใด และในงานนี้จากที่นักกีฬาไทยสามารถไปคว้าแชมป์พับจี​ ออนไลน์​ ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย พร้อมรับเงินรางวัลรวมกว่า 26 ล้านมาได้เมื่อปีที่แล้ว ทำให้ทางเจ้าชายไฟซัล และนักกีฬาทีมชาติของซาอุดิอาระเบียอยากที่จะมาร่วมจัดงานแข่งขันกระชับมิตรและเปลี่ยนทักษะทางกีฬาอีสปอร์ตที่ประเทศไทยครั้งนี้ขึ้นมา 
ด้านสาเหตุที่เลือกเมืองพัทยาเป็นสนามแข่งขันนั้น ทางประมุขกีฬาอีสปอร์ตของไทยเผยว่า เราต้องการที่จะแสดงจุดแข็งของประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยวและที่นี่เป็นเมืองที่ทันสมัย​ มีชาวต่างชาติแวะเวียนมาที่พัทยานี้เยอะมากๆ ตลอดเวลา สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนไทย และถ้ามีโอกาสเราจะขยายไปจังหวัดอื่นๆ ต่อไปเรื่อยๆ 
"นักกีฬาอีสปอร์ตเกมโดต้า​ 2 และ​ สตรีต​ ไฟต์เตอร์​ 5 ทีมชาติซาอุดิอาระเบียจะมาแข่งแมตช์อุ่นเครื่องกับนักกีฬาทีมชาติไทยในวันที่ 28-29 เม.ย.66 ส่วนในวันที่ 30 เม.ย.จะเป็นการแข่งขันแบบกระชับมิตรร่วมกันอย่างเป็นทางการ ซึ่งซาอุดิอาระเบียเองเป็นชาติที่เริ่มมีอิทธิพลต่อวงการอีสปอร์ตโลกมากขึ้น​ การร่วมงานกันครั้งนี้กับประเทศไทยย่อมต้องเกิดประโยชน์และผลลัพธ์มากมายต่อไปในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน ผมอยากเชิญชวนชาวอีสปอร์ตของไทยเดินทางมาร่วมชมกิจกรรมทั้ง 3 วันกันเยอะๆ เพราะภายในงานมีกิจกรรมที่จะรอมอบของขวัญให้แก่ทุกท่านมากมาย" นายสันติ​ กล่าว 

สำหรับ​โปรแกรมรายการ "ซาอุดิ-ไทย​ อีสปอร์ต​ อินวิเตชั่น เฟรนด์ลี่ แมตช์" ระหว่างวันที่​ 28-30 เม.ย.​66 ที่ศูนย์การค้า​เซ็นทรัล​ พัทยา จังหวัดชลบุรี​ ทัพอีสปอร์ตเกมโดต้า​ 2 และ​ เกมสตรีต​ ไฟต์เตอร์​ 5 ทีมชาติซาอุดิอาระเบียจะแข่งขันกับทีมตัวแทนประเทศไทย ทีม​ 1 ในวันที่ 28 เม.ย.66, แข่งขันกับทีมตัวแทนประเทศไทย ทีม​ 2 ในวันที่ 29 เม.ย.66 และจะแข่งขันกับทีมชาติไทยชุดใหญ่ทั้ง 2 เกม​ ในวันที่ 30 เม.ย.66 นอกจากนี้ทางสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยยังมีการจัดกิจกรรมแข่งขันเกมอารีน่า ออฟ​ วาลอร์ หรือ​ อาร์โอวี​ ตลอดทั้ง 3 วันถึง​ 3 รายการ​ โดยเงินรางวัลรวมทั้ง 3 รายการสูงถึง​ 100,000 บาทด้วยกัน

Saturday, March 25, 2023

STYLE Bangkok ยกทัพผู้ประกอบการของเล่นไทยดันของเล่นสไตล์ Craft โกอินเตอร์

ถ้าพูดถึงสินค้าส่งออกของไทยที่ได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศ หลายคนคงนึกไม่ถึงว่าอุตสาหกรรมของเล่นไทยเป็นหนึ่งในหมวดสินค้าที่ถูกส่งออกไปอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ  โดยเฉพาะสินค้าของเล่นสไตล์ Craft หรือ กึ่ง Craft ทำจากมืออย่างประณีต ซึ่งมีตลาดต่างประเทศที่สนใจจาก ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
คุณอุไรวรรณ บุนนาค นายกสมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทย และเจ้าของแบรนด์ แอ๊บโก้ สตาร์ (ABCO STAR) เผยว่า “แอ๊บโก้ สตาร์ บริษัทผลิตของเล่นและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ที่ประสบความสำเร็จด้านการออกแบบของเล่นและได้รับความสนใจจากต่างชาติมานานกว่า 40 ปี 
ด้วยเอกลักษณ์ในเรื่อง Design ของเล่นด้วยผ้าที่เป็นจุดเด่น ซึ่งได้รับการชื่นชมในวงกว้างจากหลากหลายแบรนด์ทั่วโลก และที่สำคัญเรื่องมาตราฐานความปลอดภัยที่บริษัทคิดคำนึงมาเพื่อเด็กด้วยการผลิตเป็นผ้าที่ปลอดภัยต่อการเล่นและการใช้วัสดุยัดไส้ที่ไม่ใช่นุ่น เนื่องจากนุ่นนั้นเป็นวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายมาก ไม่ปลอดภัยในระยะยาว จึงต้องเลือกใช้วัสดุอื่นอย่างใย Polyester เพื่อยัดไส้ตุ๊กตาแทน ซึ่งผ่านมาตรฐาน Safety Toy ในระดับสากล นอกจากนี้ การให้ความสำคัญและคำนึงถึงการออกแบบอย่างยั่งยืนหรือ Sustainability ก็เป็นสิ่งที่สำคัญในยุคสมัยนี้ หากสามารถทำ Design ที่ออกแบบมาเพื่อสิ่งแวดล้อมและตรงกับความต้องการของตลาด ก็จะยิ่งทำให้ตลาดของเล่นเติบโตได้อย่างมาก” 
สำหรับใครที่สนใจในแนวคิดนี้ และอยากศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปปรับใช้กับการสร้างสรรค์ผลงานและสินค้าของตน อยากบอกว่าช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก เนื่องจากตอนนี้ Style Bangkok ได้จัดงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นที่มีจุดยืนและแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainability)
ให้ชม ช้อป พร้อมกับศึกษา พบปะผู้ประกอบการและผู้ซื้อเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและคำแนะนำจากผู้ประกอบการหลากหลาย รวมทั้ง ศิลปิน และ Designer ชื่อดังภายในงานที่มาพร้อม Showcase ให้ได้ศึกษากันยาวๆ อย่างต่อเนื่อง โดยตอนนี้เหลือเวลาอีก 2 วัน ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 25-26 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

Tuesday, March 7, 2023

เชิญปล่อยของในงาน PGS งานประชุมวิชาการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา  ชวนมาปล่อยของในงาน PGS 2023 การประชุมวิชาการฯ ด้านดนตรีเชิงบูรณาการและนวัตศิลป์ระดับชาติ

       สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา  เชิญชวนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาทุกท่าน ที่สนใจนำเสนอผลงานแนวความคิดล้ำ ๆ จากงานดนตรีของคุณ มาปล่อยของกันที่งาน PGS งานประชุมวิชาการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ที่ปีนี้จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ในวันที่ 5 - 9 เมษายนนี้ ที่ Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

         สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ด้านดนตรีเชิงบูรณาการและนวัตศิลป์ ระดับชาติ (Princess Galyani Vadhana Institute of Music Interdisciplinary Music and Innovation Graduate Symposium National : PGS) เป็นปีที่สาม เพื่อเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในสาขาดนตรีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย สร้างสรรค์ นวัตกรรม หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านดนตรี และการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของตน ต่อสาธารณชนในประเทศ รวมทั้งเป็นการเพื่อสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการในศาสตร์ของดนตรีเชิงบูรณาการ ที่ครอบคลุมการสร้างสรรค์ในมิติต่างๆ ทางด้านดนตรี ในระดับประเทศตามระเบียบวิธีการนำเสนอผลงานวิชาการที่เป็นสากล และส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมประชุมสร้างเครือข่ายทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาผลงานทางวิชาการต่อไปในอนาคต

            สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาดนตรีทั้งในแง่ของศาสตร์และศิลป์ และต้องการพัฒนาศักยภาพในการค้นคว้า วิจัย และสร้างความรู้ใหม่ รวมทั้งสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ที่มีคุณค่า และสอดคล้องกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จึงริเริ่มจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านดนตรี (Princess Galyani Vadhana Institute of Music International Symposium : PGVIS) ขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เพื่อเป็นหมุดหมายสำคัญของงานวิจัยดนตรีในระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับนานาชาติ

กำหนดการ

วันสุดท้ายของการส่งบทความ                      26 มีนาคม 66
ประกาศรายชื่อผลงานที่ได้รับคัดเลือก         31 มีนาคม 66
นำเสนอผลงาน (ออนไลน์)                           5-6 เมษายน 66

คุณลักษณะของบทความที่นำเสนอ

เป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ดนตรีในมิติต่าง ๆ และมีความยาว 4 - 10 หน้า A4 โดยคณะกรรมการจะคัดเลือกตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ในระดับปริญญาโทขึ้นไป ในรูปแบบดังนี้

1. บทความวิจัย (ตัวอย่างแบบฟอร์มบทความวิจัย) หรือ
2. บทความวิชาการ (ตัวอย่างแบบฟอร์มบทความวิชาการ)

​สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ postgrad@pgvim.ac.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

https://www.pgs.pgvim.ac.th/

Thursday, February 23, 2023

กรมอนามัย จับมือ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ชู สังคมนมแม่ ตั้งเป้าให้เด็กไทยร้อยละ 50ได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน


กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ลดลงเหลือ ร้อยละ 14 จับมือ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เร่งขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กไทย
ได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด กินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และกินนมแม่ต่อเนื่องร่วมกับอาหารตามวัย ถึง 2 ปี


วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2566) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในการ
เป็นประธานงานแถลงข่าวการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลง ระหว่าง
กรมอนามัย และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นับเป็นรากฐานที่ สำคัญของสุขภาพทารกที่ดี นมแม่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เป็นวัคซีนหยดแรกในการสร้างภูมิคุ้มกันของทารก เป็นส่วนสำคัญ
ในการพัฒนาระดับสติปัญญาส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2562 โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็ก


แห่งสหประชาชาติ พบว่า มีเด็กไทยเพียง ร้อยละ 34 ที่ได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และมีเพียง
ร้อยละ 14 ที่ได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้รับน้ำหรืออาหารอย่างอื่นผสม ในช่วง 6 เดือนแรก


นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายในการส่งเสริมให้เด็กไทยทุกคน
ได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ "กินนมแม่ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด" "กินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต" และ "กินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่อาหารตามวัย จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น" โดยมีเป้าหมายในปี 2568 ให้เด็กไทยร้อยละ 50 จะได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน รวมทั้งกรมอนามัย และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพลังที่สำคัญจากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จึงเร่งดำเนินการส่งเสริม


ให้เด็กไทยได้กินนมแม่ ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กไทยทุกคนได้กินนมแม่เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้แก่เด็กไทย

“สำหรับการลงนามความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย และ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ในวันนี้ นอกจากจะสนับสนุนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย ยังเป็นการขับเคลื่อนแผน


ยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่องค์กรอนามัยโลกกำหนด รวมทั้ง ให้คุณแม่ทุกคนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ได้สำเร็จและรวมพลังผลักดันให้ครอบครัว สังคมไทยเข้าสู่วิถีสังคมนมแม่ ให้เด็กไทยทุกคนได้มีโอกาสเติบโต
อย่างมีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป” อธิบดีกรมอนามัยกล่าว


ทางด้าน แพทย์หญิงศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า มูลนิธิศูนย์


นมแม่แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของแพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
และกลุ่มคุณแม่อาสา ที่เห็นประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจากสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


ที่ได้รับความสนใจจากแม่และสังคมลดลง จึงได้จับมือกับกรมอนามัยร่างยุทธศาสตร์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้น
เพื่อให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็น “วิถีของแม่และสังคมไทย” ประกอบด้วย  4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ
1) การขับเคลื่อนนโยบายและกฎหมาย (Policy & Law Oriented) 2) การปลูกฝังและสร้างค่านิยม (Value and Culture Oriented) 3) การพัฒนาคุณภาพระบบบริการ (Quality of Service Oriented) และ 4) การจัดการความรู้และนวัตกรรม (Knowledge and Innovation Oriented) รวมทั้งลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนการเลี้ยงลูก
ด้วยนมแม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาอย่างต่อเนื่อง


“นอกจากนี้ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ยังได้ร่วมกับกรมอนามัยจัดการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 8 เรื่อง เสริมพลัง สร้างความรู้ สู่วิถีนมแม่ อย่างยั่งยืน Step up Breastfeeding: Educate, Support and Sustain โดยมีราชวิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ สภาการพยาบาล สมาคมโภชนาการเด็ก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมด้วย


 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฟื้นฟูวิชาการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ทันสมัย ในวันที่ 21-23 มีนาคม 2566 ซึ่งสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานทาง www.thaibfconference.net ตั้งแต่วันนี้ถึง 6 มีนาคม 2566 นี้” แพทย์หญิงศิริพร กล่าว

   *** กรมอนามัย  /  23 กุมภาพันธ์ 2566