Showing posts with label #​วช#อูบุนนาค. Show all posts
Showing posts with label #​วช#อูบุนนาค. Show all posts

Tuesday, April 25, 2023

วช. หนุน สปร.นำนวัตกรรมมาใช้บริหารจัดการแผงขายสินค้า เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลภาคตะวันออกชายหาดบางแสนชลบุรี

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) ในการนำนวัตกรรมและแอปพลิเคชัน มาใช้ในการบริหารจัดการแผงขายสินค้าขยายพื้นที่ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อจัดระเบียบพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

 สร้างเสริมรายได้เพิ่มให้กับร้านค้าบริเวณชายหาด และสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สามารถจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่มีคุณภาพราคาเป็นธรรม สนับสนุนการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และสามารถขยายผลต่อยอดโมเดลนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
   
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นกลไกสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนให้การสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้นหรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสามารถถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้สู่ชุมชน รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนับเป็นโอกาสสำคัญในการที่ทุกฝ่ายร่วมมือกัน 

เพราะนั่นหมายถึงการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและจังหวัดพื้นที่การท่องเที่ยวนั้น ๆ อย่างโครงการวิจัยของสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) ที่ทีมวิจัยได้นำนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสหรือเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาและคุณภาพของสินค้า รวมถึงการให้บริการที่ดีกับนักท่องเที่ยวหรือแขกผู้มาเยือนและที่สำคัญสามารถขยายผลต่อยอดนำฐานข้อมูลจากแอปพลิเคชันขับเคลื่อนชุมชนด้วยข้อมูล (Data Driven Community) เพื่อบริหารจัดการปรับตัวทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
         
นายธนัทเทพ จิระประวัติตระกูล นักวิจัยจากสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาชายหาดบางแสนได้รับผลกระทบไม่มากนัก ในช่วงวันหยุดจะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อนักท่องเที่ยวในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจอดรถ การจราจรติดขัด และการขายสินค้าเกินราคา ที่สำคัญประการหนึ่งคือการจัดการแผงขายสินค้าซึ่งมีประมาณ 1,800 ร้านค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ค้ามากกว่า 4,000 ราย และผู้เยี่ยมเยือนเทศบาลเมืองแสนสุขกว่า 2.8 ล้านรายต่อปี อุปสรรคที่เกิดขึ้น

 เช่น การชำระค่าธรรมเนียมการขายไม่ครบถ้วน การไม่มีระบบสืบค้นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทางทีมผู้วิจัยจึงเสนอการนำนวัตกรรมการจัดการแก่ผู้บริหารเทศบาลเมืองแสนสุข ให้มีการจัดการสมัยใหม่โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในรูปแบบแอปพลิเคชัน เพื่อลดขั้นตอนงานเอกสารและลดกระบวนการทำงาน ส่งผลให้ภาระงานของเจ้าหน้าที่เทศบาลลดลง การบริหารงานมีประสิทธิภาพ นักท่องเที่ยวสามารถให้คำแนะนำติชมร้านค้า เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกแก่ทุกภาคส่วน ซึ่งการนำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เป็นการนำความคิดเห็นของทุกภาคส่วนเพื่อบูรณาการทำงาน ได้แก่ คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแสนสุข เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเทศบาลเมืองแสนสุข ผู้ขายสินค้า นักท่องเที่ยว และประชาชนโดยรอบ เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลเมืองแสนสุข การเพิ่มยอดขายและคุณภาพของผู้ขายสินค้า ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและประชาชนโดยรอบ
      
นายธนัทเทพ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นผู้ขายสินค้าในระหว่างวันที่ 5 - 21 เมษายน 2566 พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ขายสินค้ามีความพึงพอใจ และคิดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายจากการใช้งานของแอปพลิเคชันได้ร้อยละ 5-10 ในปีนี้ แต่ยังมีอุปสรรคในเรื่องการใช้งานของผู้ขายสินค้าที่สูงอายุที่ไม่คุ้ยเคยกับการใช้งานแอปพลิเคชัน ขณะเดียวกันจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เยี่ยมเยือนพบว่า สิ่งที่ประทับใจคือไม่เคยเห็นการนำงานวิจัยมาเป็นผลงานที่สามารถจับต้องได้ สามารถนำมาใช้ได้จริง เป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวในด้านข้อมูลและการร้องเรียน เป็นแอปพลิเคชันสำหรับพื้นที่ค้าขายที่พบเห็นที่แรกของประเทศ ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองแสนสุข

สำหรับการต่อยอดของการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดตลาดที่บริหารโดยราชการส่วนท้องถิ่น เช่น ตลาดของเทศบาล หรือ ตลาดของ อบต. และการนำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ไปใช้แก้ปัญหาในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมซึ่งจะต้องรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน โดยนำทฤษฎีการจัดการมาแก้ไขปัญหา และมีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมโดย 

ผศ.ดร.วรภัทร ไพรีเกรง ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า การมีแอปพลิเคชันที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เป็นแนวโน้มที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวสำหรับชุมชม เพราะเป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าการใช้เว็บไซต์ที่รวมการท่องเที่ยวของประเทศไว้ หรือสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังช่วยให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งในอนาคตการต่อยอดของแอปพลิเคชันนี้ อาจจะกลายเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยร่วมกับการจัดการข้อมูลของบางแสนสมาร์ทซิตี้ (Bangsaen Smart City) และขับเคลื่อนชุมชนด้วยข้อมูล (Data Driven Community) รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลไปยังผู้ที่อยู่อาศัย ร้านค้าในชุมชน เพื่อนำไปใช้สำหรับการตัดสินใจ การบริหารจัดการ และการปรับตัวทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวโดยตรงและรวดเร็ว

Tuesday, April 11, 2023

วช.หนุนทีมวิจัย ม.ราม ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

       สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและทางทะเล จึงมีแผนในการพัฒนาอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

 สร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพทั้งด้านพันธุกรรม ชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศทั้งบนบกและทะเล เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลในชั้นดินตะกอนในระบบนิเวศแนวปะการังและชายหาด การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และขีดความสามารถในการจัดการประมง และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง

      ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนให้การสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้นหรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสามารถถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้สู่ชุมชน รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการใช้

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างผลงานการศึกษาจากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพที่ต้องอาศัยระบบนิเวศทางธรรมชาติ และด้านพลังงานชีวภาพ

       ดร.จำเริญ บัวเรือง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยว่า ในการศึกษาร่วมกับทีมวิจัยภายใต้แผนการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 2 โครงการวิจัยย่อย คือ การบูรณาการการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการบูรณาการความหลากหลายทรัพยากรทางชีวภาพและนิเวศวิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพของไลเคนในประเทศไทย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพทั้งด้านพันธุกรรม ชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศบนบกและทะเล ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่อสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศ ศึกษาเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขีดความสามารถในการจัดการประมง และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ความหลากหลายของไลเคนและความสัมพันธ์กับแหล่งอาศัย ตลอดจนการตอบสนองต่ออุณหภูมิและมลพิษทางอากาศ ซึ่งมีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของไลเคน รวมถึงค้นหาศักยภาพของไลเคนเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสีย้อม และใช้ไลเคนเป็นแหล่งค้นหาแอคติโนแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ ๆ 

       ดร.จำเริญ กล่าวว่า ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถให้บริการด้านข้อมูลและวิชาการเกี่ยวกับฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและทางทะเลที่ได้จากงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในประเทศโดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การผลิตไบโอดีเซลจากเชื้อราทะเล สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของแบคทีเรียที่แยกจากไลเคน การตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยไลเคน สีย้อมจากไลเคน แนวทางการจัดการโครงสร้างป่าดิบเขา (ผสมสน) และการจัดการเชิงระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

       สำหรับแนวทางการขยายผลต่อยอดโครงการนี้จะให้ความสำคัญในการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะและพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงลึกด้านการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมและหาแนวทางในการอนุรักษ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต

Thursday, March 23, 2023

วช.หนุนนวัตกรรมเสริมศักยภาพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ผลักดันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตโคเนื้อแบบครบวงจร


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช. ) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนครพนม ในโครงการการถ่ายทอดนวัตกรรมและส่งเสริมพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบผลิตโคเนื้อครบวงจร แบบพึ่งพาตนเองเชิงบูรณาการในจังหวัดมุกดาหาร  เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่เครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัด เสริมศักยภาพให้กับเกษตรกรแบบครบวงจร 

เริ่มตั้งแต่การพัฒนาองค์ความรู้ การผลิตอาหารหยาบ อาหารข้น อาหารผสมครบส่วนแบบหมัก (FTMR) ต้นทุนต่ำ การใช้ฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำ การใช้น้ำเชื้อแบบแยกเพศ วางแผนการผลิต การใช้แอปพลิเคชันโคเนื้อ และที่สำคัญช่วยเพิ่มขีดความสามารถในด้านการตลาด ลดต้นทุนเพิ่มรายได้สร้างกำไร โดยมีการส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายในจังหวัด 

เพื่อการพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการทบทวนทักษะ (Re-skill) ยกระดับทักษะด้วยนวัตกรรม (Up-skill) และเพิ่มทักษะองค์ความรู้ใหม่ (New skill) สร้างรายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่ภูมิลำเนา หวังสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พึ่งพาตัวเองได้ สู่เป้าหมายเพื่อยกระดับและเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ให้เพิ่มขึ้น

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า​ฝากัโณ? 1ว​24วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวชุมชน โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ในการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อที่จังหวัดมุกดาหาร 

ซึ่งก่อนหน้านี้เคยประสบกับปัญหาต้นทุนด้านอาหารสัตว์ การคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพ ปัจจุบันได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อ โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนครพนม ทั้งเรื่องวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนในการเลี้ยงโคเนื้อ ทิศทางการพัฒนาและสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรสู่ Smart farmer เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างอาชีพเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต และการจัดทำคู่มือเนื้อหาทางการปฏิบัติที่ทำให้เกษตรกรเข้าใจได้ง่าย ตลอดจนการผลิตสื่อเผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ รวมถึงการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เครือข่าย และเกษตรกรที่สนใจ

นายพิชิต รอดชุม อาจารย์สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม  หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า โครงการนี้ได้มีการพัฒนาบูรณาการร่วมกันระหว่างเกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด เช่น นักวิชาการ นักวิจัย มหาวิทยาลัยนครพนม, ปศุสัตว์จังหวัด, ปศุสัตว์อำเภอ, องค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ประกอบการด้านการค้าในการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกร สร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งพาตนเอง มาช่วยพัฒนาการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพภายในฟาร์มของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ

 และโคขุน ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสัตว์ โดยมีการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เครือข่าย สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ ทำให้เกษตรกรเข้าใจในการพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตโคเนื้อให้มีคุณภาพและสามารถแข่งขันได้

โดยเฉพาะปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนที่สูง สามารถนำผลงานการวิจัยมาปรับใช้เพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการในการหาวัตถุดิบอาหารทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกร จากความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาแบบบูรณาการจากผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรมที่ใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ 1) การผลิตอาหารหยาบ (หญ้าเนเปียร์/ข้าวโพดคุณภาพดี) ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารโคเนื้อ 2) การถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมการผลิตอาหารโคเนื้อผสมครบส่วนแบบหมัก (FTMR) 3) การใช้ฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดร่วมกับการใช้น้ำเชื้อแบบแยกเพศวางแผนการผลิต และ 4) การใช้แอปพลิเคชันโคเนื้อ การคัดเลือกสายพันธุ์และตลาดโคเนื้อให้เกิดประสิทธิภาพ
สำหรับเครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหารที่เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ 2) วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคขุนระยะสั้น ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ 3) วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโค ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง 4) กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค – กระบือ ตำบลดงมอน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

อ.พิชิต รอดชุม กล่าวต่อว่า ผลการดำเนินงานในโครงการฯ จากการสำรวจ พบว่า ค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนเข้าร่วมการอบรม 99,504.34 บาท/ราย และหลังเข้าร่วมการอบรม 95,194 บาท/ราย และหลังการอบรมสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาเป็นอาชีพสามารถลดหนี้สินครัวเรือนได้ถึง 4,310.34 บาท/ราย คิดเป็นร้อยละ 4.33 ซึ่งจะมีการขยายผลโครงการนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมศักยภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อให้ดีขึ้นสามารถนำวัตถุดิบในชุมชนมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ 

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ อ.พิชิต รอดชุม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม E-mail rodchoom@hotmail.com, chitrod2@gmail.com โทรศัพท์ 095-669-2737 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนพัฒน์ สุระนรากุล สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม E-mail Tanapatsuranarakul@gmail.com โทรศัพท์ 087-775-5663

Thursday, March 16, 2023

วช. เชิดชู ศาสตราจารย์ ดร.ศากุน บุญอิต เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2566 จากแนวคิด “Supply Chain Integration” ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ในโลกหลังโควิด

วันที่ 16 มีนาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน NRCT Talk : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2566 ครั้งที่ 1 สาขาเศรษฐศาสตร์
 ศาสตราจารย์ ดร.ศากุน บุญอิต แห่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ขับเคลื่อนแนวคิดงานวิจัยด้านการจัดการซัพพลายเชนจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบันให้กับภาคธุรกิจหลังการระบาดของ COVID-19 ณ ศูนย์จัดการความรู้การวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีภารกิจที่สำคัญในการให้รางวัลประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการส่วนรวม ซึ่งในปีนี้ วช. ได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ ประจำปี 2566 ให้แก่

 ศาสตราจารย์ ดร.ศากุน บุญอิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักวิจัยที่มีความคิดริเริ่ม ซึ่งเป็นรางวัลที่ วช. มอบให้เป็นประจำทุกปี เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์และนักวิจัยที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิดผลิตและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น กิจกรรม ภารกิจ และผลการดำเนินงานเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมของ วช. ไปสู่ชุมชนและสาธารณชนให้ได้ทราบและนำไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อสังคมของประเทศชาติต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร.ศากุน บุญอิต แห่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยด้านการจัดการซัพพลายเชนและการปฏิบัติการการบูรณาการซัพพลายเชน (Supply Chain Integration) การจัดการซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Supply Chain Management) การจัดการการปฏิบัติการและซัพพลายเชนในธุรกิจบริการ (Service Supply Chain Management) และการจัดการซัพพลายเชนและการปฏิบัติการในช่วงระหว่างหลังการหยุดชะงักทางธุรกิจ (Business Disruption) นั้น การจัดการซัพพลายเชน หรือ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน มีความจำเป็นสำหรับภาคธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรมที่ทำให้ทุกภาคธุรกิจคือการวางแผนบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน 

การวางแผนบริหารความเสี่ยงที่มุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มผลิตภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าของสินค้าเพื่อก้าวกระโดดไปสู่การเป็นฐานการผลิตและบริการที่โดดเด่น ให้ความสำคัญในการมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ อันจะนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจการจัดการกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาองค์กรสู่การวางแผนงานในด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจนสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ศาสตราจารย์ ดร.ศากุนฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “การวิจัยไม่ใช่การนำเสนอ สิ่งที่รู้ แต่เป็นการค้นพบ ความรู้ ที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบต่อยอดสร้างประโยชน์ทางวิชาการ เหนือสิ่งอื่นใดคือการสร้างประโยชน์ต่อสังคม อย่าหยุดฝัน ทักษะและจินตนาการคือสิ่งสำคัญ”

ทั้งนี้ วช. ได้มีการจัดงาน NRCT Talk ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้จะเป็นการจัดเรื่องนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมผ่านสื่อมวลชนและยังเป็นการเชิดชูนักวิจัยทางด้านสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มีคุณค่า สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้นักวิจัยเกิดยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างองค์ความรู้พื้นฐานทางวิชาการต่อสังคมและเศรษฐกิจส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงโลกแห่งอนาคต สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสร้าง Business for Better Life & Better Society ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

เกษตรกรอุทัยธานีเตรียมเฮ! วช.ร่วมกับ GISTDA นำเทคโนโลยีช่วยประเมินความเสี่ยงปัญหาภัยแล้ง

วันนี้ (16 มี.ค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) หรือ GISTDA ลงพื้นที่ไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. นำโดย ดร.สมชาย  ใบม่วง และนักวิจัย GISTDA พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชน นำเทคโนโลยีโดรนสำรวจพื้นที่ภัยแล้งภาคการเกษตร ที่บ้านไผ่เขียว หมู่ที่ 20 ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี

ดร.สมชาย  ใบม่วง ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เปิดเผยว่า  วช. ได้สนับสนุนการวิจัยให้ GISTDA ดำเนินการทำแพลตฟอร์ม “การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลงจากแบบจำลอง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ” 

 เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงภัยแล้งเพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงภัยแล้ง โดยเลือกพื้นที่อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องใช้แพลตฟอร์ม ประเมินความเสี่ยง เนื่องจากมีจำนวนประชากรร้องขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งเป็นจำนวนมาก

ด้านนายขวัญชัย วงษ์วิทยา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ทึ่ 20 ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี หนึ่งในเกษตรกรบ้านไผ่เขียว กล่าวถึงเครื่องตรวจสอบระบบติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งว่า ตนคาดว่าหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจกับเครื่องตัวนี้และแอปพลิเคชั่น “เช็คแล้ง” 

จะมีประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะได้รู้ถึงความชื้นของพื้นดินในแปลงไร่ ว่าเหมาะต่อการลงพืชผลหรือไม่ สำหรับผู้ใหญ่มีพื้นทำการเกษตรทั้งหมด 50 ไร่ ปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง โดยพบ 20 ไร่ที่อยู่บนที่สูงบนเนินหรือความชื้นไม่ถึง จะเกิดภัยแล้ง โดยหมู่ที่ 20 บ้านไผ่เขียวมีแปลงอ้อยและมันสำปะหลังอยู่ประมาณ 1,500 ไร่ ซึ่งตนคิดว่าเทคโนโลยีจะนำไปช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างมาก และลดต้นทุนในการปลูกพืชอีกด้วย
    
ทั้งนี้ คณะ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ สื่อมวลชน ได้เข้าร่วมการประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการ แพลตฟอร์ม “การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลงจากแบบจำลอง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ”
 ภายใต้การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม จาก วช. โดยมี นายธนัท  ลิ้มสมบูรณ์ นายอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานเปิดการประชุม เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการภาคเกษตรในอำเภอสว่างอารมณ์ 

ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้แอปพลิเคชั่น “เช็คแล้ง” ที่แม่นยำต่อการติดตามระบบภัยแล้ง โดยเกษตรกรสามารถโหลดแอปพลิเคชั่น “เช็คแล้ง” ได้ทั้งระบบ Android และ ios เพื่อติดตามภัยแล้งของพืชเกษตร ผ่านข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูง หรืออีกแพลตฟอร์มผ่านทางเว็บไซต์ https://cropsdrought.gistda.or.th

Wednesday, March 15, 2023

วช. ยกระดับเตรียมคนไทยสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ใช้สื่อดิจิทัลถ่ายทอดความรู้ หนุนเที่ยวเชิงสุขภาวะ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไม่นิ่งเฉยเตรียมความพร้อมเมื่อไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบผนึกกำลังร่วมกับผลงานวิจัยเรื่อง "การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้สื่อดิจิทัลในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ" หวังช่วยพัฒนาผู้สูงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ในวัยที่มีเวลาพักผ่อน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เพื่อเสริมอาวุธทางปัญญาให้ผู้สูงวัยสามารถค้นหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะได้ด้วยตนเอง อีกทั้งช่วยผู้ประกอบการท่องเที่ยวให้มีผลประกอบการที่ดีในระยะยาว 
ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง  ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นตัวเลข 11.8 ล้านคน หรือ 17.9 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ผ่านมา วช. ให้ความสำคัญอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อต้องการจะเตรียมคนไทยก้าวสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข เนื่องจากเป็นวัยที่มีเวลาพักผ่อน พร้อมเดินทางไปท่องเที่ยว ซึ่งก็สอดคล้องกับผลวิจัยเรื่อง "การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้สื่อดิจิทัลในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ" ของ ดร.ชวาลศักดิ์  เพชรจันทร์ฉาย แห่ง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
    
ดร.ชวาลศักดิ์ เพชรจันทร์ฉาย กล่าวถึงที่มาของการจัดทำงานวิจัยเรื่องนี้ มาจากองค์การสหประชาชาติที่มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2593 จะมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 2,092 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 20% ของประชากรโลก นอกจากนี้องค์กรการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) (2020) ได้ประมาณการว่า ภายในปี 2573 ทั่วโลก จะมีนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุมากถึง 611 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีเวลาท่องเที่ยว และมีศักยภาพในการจับจ่ายใช้สอยมากกว่าวัยอื่น ๆ 

จากรายงานของ Global Wellness Institute (2018) ได้ประมาณการว่า การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะ (Wellness tourism) ในปี 2017 ที่ผ่านมา มีมูลค่าถึง 639.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเจริญเติบโตสูงถึงร้อยละ 6.5 ต่อปี ระหว่างปี 2015-2017 สูงเป็นสองเท่าของการท่องเที่ยวทั่วไป สำหรับประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะจำนวนมาก เช่น Chiva-Som International Health Resort อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เรียกได้ว่าการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจให้แข็งแรงสมบูรณ์ไปด้วยในตัว ช่วยในการผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แต่ในการท่องเที่ยวนั้นผู้สูงอายุจำเป็นต้องสืบค้นข้อมูลที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจ ผู้สูงอายุในปัจจุบันก็ได้มีการปรับตัว เพื่อใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต
    
จากเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ให้ได้รับความสะดวกในการใช้งาน และไม่ยากในการเรียนรู้มากเกินไป ทางคณะวิจัยจึงได้ทำการวิจัย 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง “รูปแบบเนื้อหาดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ” และเรื่อง “แบบจำลองการให้คำแนะนำอัจฉริยะสำหรับสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะด้วยเทคนิคฟัซซีเบลคอลแลบอเรทิฟฟิลเทอริง” ซึ่งจะทำให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะเพียงพอที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในเบื้องต้น โดยเรื่องที่ถ่ายทอดสู่ชุมชน คือ เรื่ององค์ความรู้ด้านการใช้สื่อดิจิทัลในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการใช้กระบวนการจัดการองค์ความรู้เป็นเครื่องมือช่วยในการถอดองค์ความรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อในรูปแบบของการจัดทำคู่มือ การฝึกอบรมการใช้งานแอปพลิเคชัน การส่งมอบคู่มือ และการจัดทำแอปพลิเคชันสำหรับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ผลผลิตจากการดำเนินโครงการประกอบด้วย คู่มือการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันอย่างง่าย คู่มือการสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ และคู่มือการสร้างงานกราฟิกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในผู้สูงอายุ
    
สำหรับผลกระทบเชิงบวกจากงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การต่อยอดในครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย สามารถใช้แอปพลิเคชันเพื่อสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และนำแอปพลิเคชันไปใช้งานจริงเพื่อเข้าใช้บริการในแหล่งบริการที่ส่งเสริมความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ขณะที่ผู้ประกอบการที่มีเว็บไซต์ให้บริการข้อมูลกับลูกค้า ก็จะก่อให้เกิดผลประกอบธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือ ลูกค้าเห็นข้อมูลชัดเจน ถูกต้อง ทำให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจเข้าใช้บริการได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ